การตลาดธุรกิจสนามบิน
สนามบินอู่ตะเภา X มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธรนบุรี
เป้าหมายทางธุรกิจ
1. วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Business Objectives)
- เพิ่มจำนวนผู้โดยสาร: ขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้นทั้งด้านธุรกิจและนักท่องเที่ยว
- เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน: ปรับปรุงกระบวนการเช็คอิน การรักษาความปลอดภัย และบริการต่างๆ เพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้โดยสาร
- ขยายเครือข่ายเส้นทางบิน: เพิ่มจำนวนสายการบินและเส้นทางบินใหม่เพื่อเพิ่มความเชื่อมโยง
- เสริมสร้างความยั่งยืน: ดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
การพัฒนามาตรฐานสนามบิน
พัฒนามาตรฐานให้เป็นมาตรฐานสากล
พัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการดำเนินงานโครงสร้างเมืองการบิน
การพัฒนาระบบการจัดการ
จัดการระบบที่ดีที่สนับสนุนธุรกิจและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
จัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
ปรับโครงสร้างองค์กรรองรับการปฎิบัติงาน
การพัฒนาโอกาสด้านรายได้
พัฒนาเส้นทางการบิน
พัฒนาการบริหารและจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม
มีการพัฒนาธุรกิจใหม่ เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาพิเศษเมืองการบินตะวันออก
เป้าหมายผู้โดยสาร 3 ล้านคน ภายในปี 70 (ปี 2566 มีผู้โดยสารจำนวน 447,343 ยอดสูงสุดปี 2561 ที่ 1,996,343)
การสร้างเครือข่าย
เน้นการสร้างพันธมิตร
2. การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis)
ปัจจัยความสำเร็จหลัก (Key Success Factors)
- ตำแหน่งที่ตั้งเชิงกลยุทธ์: ใกล้ศูนย์อุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยว
- โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย: สนามบินที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย
- การเชื่อมต่อที่ดีเยี่ยม: ระบบการขนส่งเชื่อมต่อกับเมืองและพื้นที่สำคัญ
- ประสบการณ์ผู้โดยสารที่เหนือชั้น: บริการลูกค้าที่มีคุณภาพสูงและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ตอบสนองความต้องการ
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม (Environment Analysis)
- เศรษฐกิจ: การเติบโตของเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเดินทางทั้งด้านธุรกิจและการท่องเที่ยว
- สังคมและวัฒนธรรม: แนวโน้มการท่องเที่ยวและพฤติกรรมการใช้บริการของผู้โดยสาร
- เทคโนโลยี: นวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในสนามบิน
- กฎหมายและนโยบาย: กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสนามบิน
การวิเคราะห์แรงกดดันในอุตสาหกรรม (Five Forces Analysis)
1. ความสามารถในการแข่งขันของผู้เล่นในอุตสาหกรรม (Competitive Rivalry): การแข่งขันระหว่างสนามบินภูมิภาคและสนามบินหลัก
2. อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining Power of Suppliers): ผู้ให้บริการเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก
3. อำนาจการต่อรองของลูกค้า (Bargaining Power of Customers): ผู้โดยสารและสายการบินที่เลือกใช้บริการสนามบิน
4. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of Substitutes): การใช้ทางเลือกการเดินทางอื่น เช่น การขนส่งทางบกหรือทางน้ำ
5. ภัยคุกคามจากผู้เข้าใหม่ (Threat of New Entrants): การเปิดสนามบินใหม่หรือการขยายสนามบินที่มีอยู่
3. การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis)
สถานการณ์ตลาด (Market Situation)
- แนวโน้มการเติบโตของผู้โดยสาร: การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้โดยสารทั้งจากธุรกิจและการท่องเที่ยว
- ความต้องการของตลาด: ความต้องการบริการที่รวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัย
- โอกาสและความท้าทาย: การขยายเส้นทางบินใหม่ การแข่งขันจากสนามบินอื่นๆ
การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis)
- สนามบินหลักในพื้นที่ใกล้เคียง: วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่ง
- การเปรียบเทียบสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ: ประเมินคุณภาพบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สนามบินคู่แข่งมี
- กลยุทธ์การตลาดของคู่แข่ง: ศึกษาวิธีการโปรโมทและการเข้าถึงตลาดของคู่แข่ง
4. ความต้องการลูกค้า
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย: นักธุรกิจ, นักท่องเที่ยว, ผู้โดยสารขาเข้าขาออก
ความต้องการและพฤติกรรม: การมองหาความสะดวกสบาย ราคาที่แข่งขันได้ และบริการที่มีคุณภาพ
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสนามบิน: ตำแหน่งที่ตั้ง, เส้นทางบิน, ราคาตั๋ว, สิ่งอำนวยความสะดวก
5. การวิเคราะห์ภายใน (Internal Analysis)
ทรัพยากรและความสามารถ: พนักงานที่มีคุณภาพ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
กระบวนการดำเนินงาน: ประสิทธิภาพในการจัดการผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน: สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหนือกว่า ความเชื่อมต่อที่ดี
6. การวิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง (Strengths)
ตำแหน่งที่ตั้งเชิงกลยุทธ์
โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย
ความสัมพันธ์ที่ดีกับธุรกิจและอุตสาหกรรมในท้องถิ่น
จุดอ่อน (Weaknesses)
ขนาดสนามบินที่อาจจำกัดการขยายตัว
ขาดความหลากหลายของเส้นทางบิน
การพึ่งพิงตลาดเฉพาะบางกลุ่ม
โอกาส (Opportunities)
การเพิ่มเส้นทางบินใหม่
การขยายบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
แนวโน้มการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
ภัยคุกคาม (Threats)
การแข่งขันจากสนามบินอื่น
การเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน
7. ข้อสรุปหลัก (Key Findings)
ตำแหน่งที่ตั้งเชิงกลยุทธ์: เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สนามบินสามารถดึงดูดทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว
การเชื่อมต่อที่ดีเยี่ยม: ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทางและเพิ่มความพึงพอใจของผู้โดยสาร
การบริการที่มีคุณภาพสูง: เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างความภักดีของลูกค้า
8. เป้าหมายการตลาด (Marketing Goals)
เป้าหมายผู้โดยสาร 3 ล้านคน ภายในปี 70
ยกระดับเป้ามาตรฐานสนามบินให้เป็นสากล
พัฒนาการบริหารและจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม
มีการพัฒนาธุรกิจใหม่ เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาพิเศษเมืองการบินตะวันออก
สร้างพันธมิตรในกลุ่มต่างๆ
เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด: เพิ่มส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว
สร้างการรับรู้แบรนด์: เสริมสร้างการรับรู้แบรนด์ของสนามบินในระดับภูมิภาคและนานาชาติ
เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า: ปรับปรุงบริการเพื่อให้ผู้โดยสารมีประสบการณ์ที่ดีขึ้น
9. วัตถุประสงค์ทางการตลาด (Marketing Objectives)
วัตถุประสงค์ทางการตลาดคืออะไร
วัตถุประสงค์ทางการตลาด คือ เป้าหมายที่องค์กรกำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นทิศทางการดำเนินการทางการตลาดที่จะตอบวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
ดังนั้นวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นเป้าหมายในระดับการดำเนินการ (ภายใต้เป้าหมายธุรกิจ) ขององค์กรที่ต้องสามารถวัดได้ตามช่วงเวลาในการดำเนินการที่ตอบเป้าหมายทางการตลาดและทางธุรกิจ
ตัวอย่างวัตถุประสงค์ทางการตลาด
สร้างการจดจำ (รู้จัก/ความชื่นชอบ) ให้กับสินค้าในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยวัดจากร้อยละอัตราการจำจำได้ของกลุ่มตัวอย่าง (แบบช่วยแนชื่อกับไม่ช่วยแนะชื่อ)
เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด เป็นร้อยละ XX% โดยวัดจากส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
การออกสินค้าใหม่ หรือสินค้าเก่ากับกลุ่มลูกค้าใหม่ โดยวัดจากจำนวนสินค้าใหม่ที่เข้าสู่ตลาดหรือยอดขายจากการเปิดตัวสินค้าใหม่
พัฒนาความน่าเชื่อถือและสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน (โดยการวัดประเมินจากจำนวนสื่อที่มีความสัมพันธ์ หรือจำนวนโครงการที่จะพัฒนาร่วมกับสื่อหรือชุมชน หรือจำนวนข่าวที่สื่อออกให้โดยไม่ได้มีการว่าจ้างทางตรง)
เพิ่มการเข้าซื้อหรือใช้บริการในช่องทางการขาย โดยวัดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนเข้าใช้บริการในช่องทางและการใช้ืเครื่องมือส่งเสริมการขายวัดการเข้าใช้บริการและซื้อสินค้าจากช่องทางที่กำหนด
พัฒนาเครือข่ายทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยวัดจาดต้นทุนการตลาดสินค้าที่ลดลง (XX%) หรือจำนวนเครือข่ายทางการที่มากขึ้น หรือโครงการที่ทำร่วมกัน (XX ราย/โครงการ)
พัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า (เปลี่ยนจากลูกค้าทั่วไปเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อมั่น/ความสนใจเพิ่มขึ้น หรือเป็นลูกค้าประจำมากขึ้น) โดยวัดจาก XXX ที่เพิ่มขึ้น
ปรับเปลี่ยนสินค้า ให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่าน (ช่องทาง/สภานการณ์/คุณค่าที่ต้องการได้รับ/พื้นที่/ลักษณะประชากร) จำนวน XXX ชิ้น
เพิ่มจำนวนลูกค้าที่แสดงความจำนงค์ในการขอข้อมูลเพิ่มหรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของบริษัท (ผ่านการเก็บข้อมูลลูกค้าในกิจกรรม) ไม่น้อยกว่า (XXX ราย)
ปรับเปลี่ยนการดำเนินการทางการตลาดให้ตอบสนองพื้นที่มากขึ้น ผ่าน จำนวนสินค้าที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะพื้นที่ การทำกิจกรรมชุมชน หรือการสนับสนุนกิจกรรมชุมชน (จำนวน ครั้ง/บาท/ประเภทสินค้าหรือบริการ) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความผูกพันในพื้นที่มากขึ้น เป็นจำนวน (XX)
เพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพของช่องทางการขายและตัวแทนการขาย ผ่านการพัฒนาความสามารถ การจูงใจ และเครื่องมือขาย เป็นจำนวน (XX คน/ร้อยละ)
เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า (ยอดการเข้าร่วมกิจกรรม หรือจำนวนการสอบถามข้อมูล) ที่เกิดขึ้นหรือเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน (XX คน/ร้อยละ)
เพิ่มการมีส่วนร่วมของคู่ค้าหรือตัวแทน ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด หรือการสมัครเข้าเป็นคู่ค้าหรือตัวแทนกับองค์กร (จำนวน XX คน/ราย/ร้อยละ)
เพิ่มการมองเห็นสินค้าในช่องทางการตลาด (โดยดูจากยอดขายที่มากขึ้น เวลาที่ใช้กับสินค้าที่มากขึ้น ณ ช่องทางจำหน่าย จำนวนสอบถามข้อมูลที่มากขึ้น การจดจำได้ของสินค้า จำนวนคนเห็นสินค้า จำนวนคนผ่้านจุดที่สินค้าวางหรือนำเสนอ จำนวนครั้งที่พนักงานขายนำเสนอ ความรู้ของพนักงานในการนำเสนอสินค้า หรือการเปรียบเทียบจำนวนเห็นสินค้าของบริษัทกับคู่แข่ง) ที่เพิ่มขึ้น (ครั้ง/ร้อยละ/สามารถในการพูดถึง)
เพิ่มยอดขายจากการพ่วงสินค้าหรือบริการที่มากขึ้น (โดยวัดจากยอดขายสินค้าที่เกี่ยวข้อง) เป็นจำนวน XXX บาท
เพิ่มยอดขายกลุ่มลูกค้าเดิมผ่านจำนวนซื้อเพิ่มในแต่ละการซื้อ (บิล) ไม่น้อยกว่าร้อยละ (XX%)
เพิ่มการหมุนเวียนของสินค้าในกลุ่มสินค้าที่มีอัตรากำไรสูงแต่หมุนช้า เป็นน้อยกว่า XX วัน (วัดจากวันที่สินค้าคงคลัง)
แหล่งที่มาของข้อมูลทางการตลาด
การพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดนั้นจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลจาก 5 แหล่ง อันได้แก่
(1) วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ เป็นกลุ่มข้อมูลสำคัญเนื่องจากเป็นเป้าหมายที่การตลาดจำเป็นต้องขับเคลื่อนเพื่อให้วัตถุประสงค์ทางธุรกิจบรรลุเป้าหมาย
(2) ข้อมูลการดำเนินการในอดีตของหน่วยงาน เป็นกลุ่มข้อมูลที่สะท้อนประสิทธิภาพการดำเนินการว่าการดำเนินการทางการตลาดในอดีตมีอะไรที่ต้องปรับปรุงหรือไม่ เช่น ข้อมูลขาย ข้อมูลผลประเมินประสิทธิภาพตราสินค้า ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า (การขาย การตัดสินใจ การรับสื่อ ช่องทางรับสื่อ ปัจจัยการปิดการขาย ช่วงเวลาการซื้อ จำนวนซื้อ ประเภทสินค้าที่ซื้อ สถานที่หรือช่องทางการซื้อและรับสื่อ) เทรนสินค้า รายงานการสั่งซื้อลูกค้าประเภทธุรกิจ เงื่อนไขการตลาดที่ต้องการ
(3) ข้อมูลวิจัยทางการตลาด เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า โดยมากประกอบด้วยลักษณะของลูกค้า พฤติสกรรมลูกค้า การตัดสินใจของลูกค้า และปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดต่อลูกค้า
(4) ข้อมูลทรัพยากรด้านการตลาดขององค์กร เป็นข้อมูลทรัพยากรทางการตลาดขององค์กรที่องค์กรมีอยู่ ณ ปัจจุบัน เช่น ตราสินค้า (และสิทธิทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง) ช่องทางการประชาสัมพันธ์ของตนเอง เครือข่ายทีมขายและเครือข่ายสื่อหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด หนักงานทางการตลาด (เช่น นักวางแผน นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้พัฒนาช่องทาง ผู้สร้างเนื้อหา) งบประมาณและระบบสารสนเทศการจัดการทางการตลาด บูท สินค้าตัวโชว์ สินค้าตัวอย่าง และข้อมูลรีวิวของลูกค้า
(5) ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการตลาด เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการตอบสนองในการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการตลาดเหล่านี้ สภาพแวดล้อมทางการตลาดประกอบด้วย
การเปลี่ยนแปลงของกำลังซื้อ
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทำให้การเข้าลูกค้าถึงยากขึ้นหรือง่ายขั้น หรือการทำให้สินค้าได้รับความนิยมหรือเสื่อมความนิยม
กฎระเบียบอุตสาหกรรมและกฏหมายที่ทำให้สามารถสื่อสารหรือนำเสนอคุณค่าของสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้าได้ง่ายหรือยากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของวิถีทางสังคม ความเชื่อ กระแสนิยม ทัศนคติต่อสินค้าหรือบริการ ไลฟ์สไตล์และความเป็นเมือง
นโยบายและเงื่อนด้านการค้าระหว่างประเทศ เช่น ค่าระวาง ระเบียบศุลกากร ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
ความสนใจและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อการวางแผนการผลิต การได้มาซึ่งสินค้า ต้นทุนสินค้า รวมถึงนวัตรกรรมจากข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม
ภาวะการแข่งขัน เช่น ภาวะการแข่งขัน (ไม่มาก ปานกลาง รุนแรง) วิธีในการแข่งขัน (แข่งด้วยราคา ความสามารถด้านการดำเนินการ หรือวิธีพิเศษ) และความง่ายหรือยากในการเข้า/ออก/หรือขยายตัวภายในและระหว่างอุตสาหกรรม สินค้าทดแทนและระดับการทดแทน
การเปลี่ยนแปลง (และการดำรงค์อยู่) ของคู่ค้า ที่จะทำให้การส่งมอบสินค้าทำได้ง่ายหรือบากมากขึ้น
กรอบการพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาด
กรอบการพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดมีหลายเครื่องมือในการใช้งาน เช่น BASSC Model GOAT Framework 3C Model (Customer-Corporation-Competitor) HARD Model RACE Framework และ ANSOFF metrix อย่างไรก็ดีสามารถพิจารณาได้จากปัจจัย 6 ด้านดังนี้
ด้านกลยุทธ์องค์กร
การสังเคราะห์จากเป้าหมายองค์กร เนื่องจากเป้าหมายองค์กรเป็นทิศทางสำคัญของหน่วยงานย่อย (การตลาด) ดังนั้นการวิเคราะห์เป้าหมายจึงสำคัญต่อการวิเคราะห์เป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางการตลาด
การเปลี่ยนแปลงของกลยุทธ์องค์กร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของกลยุทธ์องค์กร อาจสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงหรือขยายกลุ่มลูกค้า การวางจุดยืนทางการตลาด หรือการจัดการโครงการทางการตลาดและทรัพยากรทางการตลาดเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
รูปแบบกลยุทธ์การเติบโตจากการพัฒนาตลาด อันได้แก่ การเจาะตลาด (เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและสร้างฐานลูกค้าเดิม) การพัฒนาตลาด (การนำสินค้าที่มีอยู่ไปพัฒนาตลาดใหม่หรือกลุ่มลูกค้าใหม่) การพัฒนาสินค้าใหม่ (การพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อตอยสนองกลุ่มลูกค้าเดิม) การเข้าถึงกลุ่มตลาดหลายกลุ่ม (การพัฒนาตลาดใหม่จากสินค้าที่พัฒนาใหม่)
ด้านทรัพยากรภายใน
การพัฒนาความสามารถของบุคลากรทางการตลาด เป็นการพัฒนาวัตถุประสงค์ด้านการเติบโตโดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านการตลาดแก่บุคลากร เช่น ความคิดเชิงกลยุทธ์ การวิจัยตลาด การพัฒนาและจัดการตราสินค้า การสื่อสาร การใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำการตลาด ความคิดสร้างสรรค์ การจัดการโครงการ การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างความสัมพันธ์บุคคล การต่อรอง การทำงานเป็นทีม การเป็นผู้นำ การมีความยืดหยุ่น การเขียนหรือพัฒนาเนื้อหาทางการตลาด การให้ข่าวและการมีจริยธรรมทางการตลาด
การพิจารณาทรัพยากรและความสามารถองค์กรทางการตลาดและการตอบสนองทางการตลาดต่อคู่แข่ง ระดับการส่งมอบคุณค่าผ่านการมีอยู่ของทรัพยากรทางการตลาดและทรัพยากรองค์กร และการตั้งงบประมาณและการใช้ทรัพยากรในการดำเนินการทางการตลาด เช่น การออกสินค้าใหม่ การจัดกิจกรรมทางการตลาด หรือการบริการต่อลูกค้า
ด้านปัจจัยภายนอก
การเปลี่ยนแปลงภาวะทางการตลาด สิ่งแวดล้อม และการจัดการโอกาสหรืออุปสรรคจากการเปลี่ยนแปลงนี้ เช่น การออกสินค้าใหม่ที่เน้นสิ่งแวดล้อม หรือการพัฒนาช่องทางดิจิทัลเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าออนไลน์มากขึ้น
ด้านการแข่งขัน
การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข่งของคู่แข่ง โดยสามารถนำไปสู่การตั้งวัตถุประสงค์ด้านการเข้าตลาด (ที่คู่แข่งอ่อนแอ) การพัฒนาสินค้าใหม่หรือปรับปรุงสินค้า การพัฒนาช่องทางที่เลี่องคู่แข่งหรือการป้องกันไม่ให้คู่แข่งเข้ามาในช่องทาง
การวิเคราะห์จุดยืนและความแตกต่างของสินค้าหรือบริการคู่แข่ง ว่าสินค้าของคู่แข่งมีความชัดเจนหรือไม่เพียงใดเมือเทียบกับสินค้าของบริษัท หรือต้องปรับจุดยืนหรือไม่อย่างไร หรือต้องปรับสินค้า บริการ หรือการจัดการแวดล้อมอย่างไรเพื่อสร้างความแตกต่าง
การวิเคราะห์กิจกรรมทางการตลาด เพื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ทางการตลาดผ่านการเข้าใจคู่แข่งผ่านกิจกรรมทางการตลาดของคู่แข่ง
ด้านลูกค้า
การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (วิธีคิดต่อสินค้า การรับรู้ต่อสินค้า และความเชื่อต่อสินค้า) สำหรับสินค้าหรือบริการแล้วลูกค้าอาจะมีทัศนคติที่ไม่สอดคล้องกับจุดยืนสินค้า หรือการสร้างความเข้าใจต่อสินค้า ดังนั้นสามารถนำความไม่สมบูรณ์นี้มาระบุเป็นเป้าหมายทางการตลาดได้
การเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมการตัดสินใจลูกค้า เช่น การกระตุ้นให้เกิดการซื้อทันที การลดความเสี่ยงด้านการทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การเพิ่มการมีส่วนร่วมกับตลาดและการยกระดับการมีส่วนร่วมต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ การสร้างการเชื่อใจ การสร้างความผู้พันธ์ การดูแลลูกค้าหลังซื้อ การสร้างการรับรู้และการเข้าถึง
การสังเคราะห์ถึงแนวทางการสร้างคุณค่าสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้น การสร้างความสัมพันธ์ และการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาหรือเงื่อนไขของลูกค้า
การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
พิจราณาด้านประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากการลดการสูญเสีย การปรับกระบวนการ หรือการสร้างผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นจากทรัพยากรเดิม การลดคสามซ้ำซ้อน การเป็นมาตรฐานของกระบวนการ และการลดจุดที่ทำให้เกิดปัญหา สร้างต้นทุน หรือเพิ่มเวลาการตอบสนอง
การตอบสนอง พิจารณาถึงการตอบสนองต่อลูกค้า ความยืดหยุ่นในการปรับสินค้าตามความต้องการ การปรับเปลี่ยนการบริการที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะ หรือความรวดเร็วต่อการให้บริการ และการปรับเปลี่ยนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
การตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่จะสนับสนุนธุรกิจและสร้างการเติบโต
หากเท่านได้มีการตั้งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเรียบร้อยจากกระบวข้อมูลการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดจากหัวข้อก่อนหน้า ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เข้ามาตรวจสอบว่าเป้าหมายทางการตลาดนั้นเหมาะสมหรือไม่โดยพิจารณา 7 ด้าน ดังนี้
ความสอดคล้องกับธุรกิจ อันได้แก่ ความสอดคล้องกับโมเดลธุรกิจ เป้าหมายทางธุรกิจ พันธกิจ วิสัมทัศน์หรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
ทบทวนปัจจัยภายนอกและภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม หากเป้าหมายมาจากการทบทวนปัจจัยภายนอกและภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมและพบโอกาสหรืออุปสรรคและนำมาเป็นเป้าหมายจะช่วยให้ความถูกต้องของวัตถุประสงค์ทางการตลาดมีมากขึ้น
ระบุตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องก่อนระบุวัตถุประสงค์ทางการตลาด เป็นการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป้าหมายทางการตลาดนั้นตรงกับกลุ่มเป้าหมายของบริษัทหรือองค์กรหรือไม่ เนื่องจากเป้าหมายทางการตลาดที่ไม่สะท้อนจากกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนทำให้การใช้ทรัพยากรมีข้อจำกัด
ความชัดเจนของเป้าหมายทางการตลาด เป้าหมายทางการตลาดของท่านชัดเจนหรือไม่ในมิติของ (1) สิ่งที่จะทำ (2) ค่าเป้าหมาย และ (3) กรอบระยะเวลา
ความสอดคล้องกันของเป้าหมายและทรัพยากรทางการตลาด โดยพิจารณาว่าเป้าหมายทางการตลาดสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีหรือไม่มีหรือไม่อย่างไร
การเรียงลำดับความสำคัญของเป้าหมาย เป้าหมายที่ดีอาจจะไม่ต้องมีมากแต่ต้องมีความสำคัญในการที่ลงทุนทางการตลาดเพื่อตอบเป้าหมาย ดังนั้นควรเรียงลำดับความสำคัญของเป้าหมายก่อนที่จะเลือกว่าเป้าหมายไหนที่จะต้องทำทันทีหรือสามารถทำได้ในช่วงเวลาถัดไป
ประเมินความเสี่ยงจากการดำเนินการต่อความสำเร็จของเป้าหมายทางการตลาด โดยพิจารณาความเสี่ยงทางการดำเนินการทางการตลาดและกลยุทธ์ทางการตลาดเช่น ความเสี่ยงด้านงบประมาณ ชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การละเมิดต่อกฎหมายหรือกฎระเบียบ การเแปลียนแปลงด้านพฤติกรรมการแข่งขันและสภาพการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงของความชอบลูกค้า การเข้ามาใหม่ของคู่แข่ง ความเสี่ยงด้านเวลา (เอาสินค้าเข้าตลาด การทำการส่งเสริมทางการตลาด หรือการพัฒนาตลาด) ช่องทางการสื่อสารและกระจายสินค้า ประสิทธิภาพการสื่อสารจากแนวทางการสื่อสารและลักษระผู้รับสาร และการเเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมการดำเนินการระหว่างประเทศ
ตัวอย่างวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน:
เป้าหมายหลักของสนามบินคือการดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ นักท่องเที่ยวในประเทศ และนักธุรกิจให้เลือกใช้สนามบินอู่ตะเภามากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสารทั้งหมดให้ถึง 3 ล้านคน
วัตถุประสงค์ทางการตลาด (Marketing Objectives):
1. เพิ่มจำนวนเส้นทางการบินระหว่างประเทศ: ดึงดูดสายการบินระหว่างประเทศใหม่ๆ ให้เข้ามาเปิดเส้นทางบินใหม่อย่างน้อย 5 เส้นทาง
2. เพิ่มส่วนแบ่งตลาดของนักท่องเที่ยวต่างชาติ: เพิ่มจำนวนผู้โดยสารจากตลาดเป้าหมาย เช่น จีน รัสเซีย และอินเดีย ขึ้นอย่างน้อย 20%
3. สร้างความพึงพอใจและประสบการณ์การเดินทางที่ดีขึ้นสำหรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจ: เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของนักเดินทางเพื่อธุรกิจร้อยละ 90
4. ขยายความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม: ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TAT) และโรงแรมชั้นนำในพื้นที่ จัดทำโปรโมชั่นร่วมกับสายการบินและการเข้าพักในโรงแรม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภามากขึ้น
5. เพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางของครอบครัวและนักท่องเที่ยวกลุ่มพักผ่อน:สร้างพื้นที่เฉพาะสำหรับครอบครัว เพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสารกลุ่มนี้ 10%
6. เพิ่มรายได้จากการค้าและบริการบนสนามบินให้เพิ่มขึ้น 15% ภายใน 2 ปี
10. ตลาดเป้าหมาย (Target Market)
นักธุรกิจ: ผู้ที่เดินทางเพื่อธุรกิจและต้องการการเชื่อมต่อที่รวดเร็วกับศูนย์อุตสาหกรรม
นักท่องเที่ยว: ผู้ที่มาท่องเที่ยวและต้องการการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้เคียง
สายการบิน: สายการบินที่ต้องการใช้สนามบินเป็นฐานในการดำเนินงาน
11. การวางตำแหน่งทางการตลาด (Market Positioning)
ตำแหน่งทางการตลาด: สนามบินภูมิภาคที่มีการเชื่อมต่อที่ดีเยี่ยมทั้งด้านธุรกิจและการท่องเที่ยว พร้อมบริการที่ทันสมัยและมีคุณภาพสูง
ข้อความหลัก: "ศูนย์กลางการเดินทางสำหรับธุรกิจและการผจญภัย"
กลยุทธ์แบบดึง VS กลยุทธ์แบบผลัก
กลยุทธ์แบบดึงเน้นดึงลูกค้าเข้ามาหาตัวบริการ
กลยุทธ์แบบผลักเน้นการเข้าถึงลูกค้าผ่านตัวกลาง
12. กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategies - 7Ps)
Product (ผลิตภัณฑ์)
บริการเช็คอินอัตโนมัติ
ร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ บนสนามบิน
บริการ Wi-Fi ฟรีและโซนพักผ่อน
Price (ราคา)
นโยบายราคาที่แข่งขันได้สำหรับการใช้บริการต่างๆ
ส่วนลดสำหรับสายการบินและผู้โดยสารประจำ
Place (สถานที่)
การจัดการเชื่อมต่อที่ดีเยี่ยมกับระบบขนส่งสาธารณะ
สิ่งอำนวยความสะดวกที่เข้าถึงง่ายจากศูนย์อุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยว
Promotion (การส่งเสริมการตลาด)
แคมเปญโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์และออฟไลน์
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและโปรโมชั่นพิเศษ
ความร่วมมือกับสายการบินและพันธมิตรทางธุรกิจ
People (บุคคล)
ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้บริการที่เป็นเลิศ
การสร้างทีมงานที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ
Process (กระบวนการ)
ปรับปรุงกระบวนการเช็คอินและการรักษาความปลอดภัยให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
Physical Evidence (หลักฐานทางกายภาพ)
การออกแบบสนามบินที่ทันสมัยและสะอาดตา
การแสดงผลแบรนด์อย่างชัดเจนผ่านป้ายโฆษณาและการตกแต่งภายใน
13. กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Strategies)
SEO และ SEM: เพิ่มการมองเห็นเว็บไซต์ของสนามบินในผลการค้นหา
สื่อสังคมออนไลน์: การสร้างและบริหารบัญชีบนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, Twitter เพื่อสื่อสารกับลูกค้า
การตลาดผ่านอีเมล: ส่งข่าวสาร โปรโมชั่น และข้อมูลสำคัญให้กับผู้สมัครรับข้อมูล
การใช้แอปพลิเคชันมือถือ: ให้บริการข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับเที่ยวบิน ข่าวสาร และสิ่งอำนวยความสะดวก
การโฆษณาออนไลน์: ใช้โฆษณาผ่าน Google Ads, Facebook Ads เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
การสร้างเนื้อหา (Content Marketing): สร้างบทความ บล็อก และวิดีโอที่น่าสนใจเกี่ยวกับบริการและกิจกรรมที่สนามบิน
14. แผนการตลาด (Marketing Plan)
15. งบประมาณ (Budgeting)
16. การประเมินผลการดำเนินงาน (Performance Evaluation)
ตัวชี้วัดหลัก (KPIs):
จำนวนผู้โดยสารรายเดือนและรายปี
อัตราการเติบโตของรายได้
คะแนนความพึงพอใจของลูกค้า
จำนวนเส้นทางบินใหม่ที่เปิด
อัตราการเข้าถึงและมีส่วนร่วมในแคมเปญการตลาดดิจิทัล
วิธีการประเมิน:
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ: ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เว็บ, การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
การติดตามแคมเปญการตลาด: ประเมินประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาและกิจกรรมส่งเสริมการขาย
การประชุมทบทวนประจำไตรมาส: ประชุมทีมเพื่อทบทวนผลลัพธ์และปรับปรุงกลยุทธ์
การปรับปรุงกลยุทธ์:
หากพบว่ากลยุทธ์ใดไม่ประสบความสำเร็จ ให้ปรับเปลี่ยนหรือพัฒนากลยุทธ์ใหม่ตามข้อมูลที่ได้รับ
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
Copyright (c) 2023, Edunet Company Limited