นำเสนอสินค้าให้ 'ลูกค้า B2B' อย่างไรให้ได้ขาย?
BRAINCLASS.ORG by Parameth Vor x MBA Story
นำเสนอสินค้าให้ 'ลูกค้า B2B' อย่างไรให้ได้ขาย?
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มีหลายท่านต้องการขายสินค้าให้กลุ่มลูกค้าธุรกิจ (Business to Business: B2B) หรือต้องการเปลี่ยนแนวจากการขายลูกค้าทั้วไป (Business to Customer: B2C) เป็นไปขายลูกค้าธุรกิจ (B2B) หากแต่การเปลี่ยนแนวลูกค้าแบบนี้ไม่ง่ายเนื่องจากความต้องการของลูกค้ากลุ่ม B2C กับ B2B แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถเจาะลูกค้ากลุ่มนีัใด้การเข้าใจเรื่องการให้ 'คุณค่า' หรือการพิจารณา 'สินค้าหรือบริการ' ของท่านที่เขาจะเห็นประโยชน์มีอะไรบ้าง บทความนี้แนะให้
ความหมายของลูกค้ากลุ่มธุรกิจ (B2B)
เพื่อให้เข้าใจแนวทางของการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและขายกลุ่มนี้ให้ได้ต้องเข้าใจนิยามของลูกค้ากลุ่มนี้สักนิด โดยพื้นฐานแล้วลูกค้ากลุ่มธุรกิจคือลูกค้าที่มีเป้าประสงค์ที่จะซื้อ วัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จ และสินค้าสำเร็จ เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการพาณชย์ (ซื้อมาขายไป) และด้านการผลิต (อุตสาหกรรม)
คุณค่าของสินค้าหรือบริการที่กลุ่มลูกค้าธุรกิจมองหา
ลูกค้ากลุ่มธุรกิจโดยมากจะมองหาสินค้าหรือบริการที่ช่วยสร้างคุณค่าเชิงธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเขามากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 9 ด้าน ดังนี้
สร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า (กลุ่มใหม่) หรือขยายการเติบโตได้
เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองด้านการบริการ เช่น ตอบสนองได้รวดเร็วขึ้น
เพิ่มโอกาสด้านการเชื่อมโยงระหว่างกัน สร้างเสริมเครือข่าย และการสร้างมูลค่าเพิ่ม
เพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต เช่น การเพิ่มปริมาณการผลิตหรือการลดเวลาในการผลิต
เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ เช่น การลดเวลา เพิ่มความโปร่งใส จัดการได้ง่ายขึ้น ควบคุมได้ดีขึ้น (ทั้งภายในและระหว่างหน่วยงาน) ลดความกังวล
สร้างความแตกต่างและความยืดหยุ่น เช่น วัตถุดิบเฉพาะที่ทำให้สินค้าแตกต่างจากคู่แข่ง และมีความยืดหยุ่นในการผลิตที่ทำให้ลูกค้ามีความเฉพาะได้ (โรงงานยาช่วยผลิตอาหารเสริมชนิดต่างๆ ได้และช่วยให้ได้ในจำนวนที่ต้องการ)
ช่วยลดต้นทุน โดยต้นทุนที่ช่วยลดได้จากสินค้าหรือบริการที่มีคุณค่ากับลูกค้ากลุ่มธุรกิจ สามารถแบ่งไปเป็น 4 ส่วนด้วยกัน อันได้แก่
ต้นทุนด้านกระบวนการ อาทิเช่น ลดต้นทุนการเสียหาย ลดต้นทุนการทำซ้ำ เพิ่มปริมาณการผลิตต่อทรัพยากร ลดต้นทุนแรงงาน และการลดต้นทุนทางตรงและทางอ้อม (เช่น ค่าพลังงาน ค่าวิจัยและพัฒนา หรือการตรวจสอบคุณภาพ)
ต้นทุนด้านการดำเนินการและการผลิต อาทิเช่น การรับฝากขาย การส่งมอบสินค้าเมื่อต้องการ (Just-im-time) การลดวงจรเงิน (ลดจำนวนวันรอคอยจากการรับคำสั่งซื้อถึงการรับเงิน)
ลดต้นทุนด้านการบริหาร ธุรการและการขาย อาทิเช่น การทำให้การวางบิลและการจ่ายเงินง่ายขึ้น หรือมีระบบสารสนเทศที่ผู้กับเพื่อให้ในกระบวนการสั่งซื้อหรือตรวจสอบจำนวนสินค้าคงเหลือระหว่างกัน ลดต้นทุนทางการเงิน
ลดความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงซึ่งเพิ่มต้นทุนการดำเนินการ เช่น การประท้วง ภัยธรรมชาติ การถูกตีกลับ
เสริมสร้างชื่อเสียงให้กับธุรกิจหรือผู้บริหาร
ช่วยตอบสนองต่อกฎหมายและกฎระเบียบ หรือช่วยยกระดับมาตรฐานทางจริยธรรม (ลดค่าใช้จ่ายด้านความยุ่งยาก)
ทำอะไรต่อ
หลังจากที่เราทราบว่าเขามองหาอะไรเป็นพื้นฐานคราวนี้ก็มาพิจารณาย้อนดูว่าสินค้าหรือบริการได้ส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจมีระดับมากหรือน้อยอย่างไร รวมถึงการพิจารณาแนวทางการนำเสนอสินค้ากับกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจให้ถูกกลุ่ม เพื่อสื่อสารคุณค่าให้ถูกกลุ่ม กลุ่มผู้ตัดสินใจอาจจะเป็น เจ้าของกิจการ คณะกรรมจัดซื้อจัดจ้าง ที่ปรึกษา หรือผู้ใช้งานสินค้าหรือบริการโดยตรง
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
เรื่องที่น่าสนใจอื่น
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
Copyright (c) 2023, Edunet Company Limited