เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ Research to Market :R2M” บ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา มจธ.ระดับปริญญาตรี โท เอก

BRAINCLASS.ORG by Parameth Vor x MBA Story 

LinkFacebookLinkYouTube

กิจกรรม “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ Research to Market :R2M”โครงการบ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการ และ สร้างแผนธุรกิจจากงานวิจัย สำหรับนักศึกษา มจธ.ระดับปริญญาตรี โท เอก

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 สำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม (สออ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้จัดกิจกรรม “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ Research to Market :R2M” โครงการบ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการ และ สร้างแผนธุรกิจจากงานวิจัย สำหรับนักศึกษา มจธ.ระดับปริญญาตรี โท เอก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566


โดยกิจกรรม Pitching Day เป็นกิจกรรมเฟ้นหาสุดยอดแผนธุรกิจเพื่อเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย ไปแข่งขันต่อในระดับประเทศ โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ จากสาขาวิชาต่างๆ มาร่วมตัดสินในครั้งนี้ ประกอบด้วย

1. ดร. ทินกร รสรื่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองส่งเสริมและประสานประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย

2. รศ.ดร.จักรกฤษณ์ เตชะอภัยคุณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอุทยานวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม

3. อาจารย์ ไวรุจน์ เดชมหิทกุล ประธานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ 

4. ผศ.ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์ ประธานสาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม และ 

5. ผศ.ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


โดยผลการแข่งขัน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Flying Duck ผลงาน การออกแบบบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกสำเร็จรูปสำหรับไม้ ดอกไม้ประดับ เจ้าของผลงาน รศ.ดร. นุชจรินทร์ เหลืองสะอาด 

 

รางวัลที่สอง ได้แก่ ทีม Baxter ผลงาน การพัฒนาแบตเตอรี่ยืดหยุ่นที่มีคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทกและกักเก็บพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าของผลงานผศ.ดร.ชาญชัย เตชะวัชราภัยกุล และผศ.ดร.ศุภกิตติ์ โชติโก


และรางวัลที่สาม ได้แก่ ทีม หอใน Monster ผลงาน ถ่านชีวภาพจากการแปรรูปก้อนเชื้อเห็ดหูหนูหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต เจ้าของผลงาน ผศ.ดร. กมลวรรณ คำภูมี  ผศ.ดร.ใหม่ น้อยพิทักษ์ 


โดย กิจกรรม RESEARCH TO MARKET- R2M เป็นกิจกรรมที่ผลักดันให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยในสถาบันไปสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการสร้างธุรกิจเทคโนโลยีให้กับนักวิจัยและนักศึกษา ให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเริ่มต้นการทำธุรกิจจนถึงการแข่งขันเข้าสู่เชิงพาณิชย์ และเป็นการเพิ่มเติมความรู้แก่นักศึกษาและนักวิจัยเกี่ยวกับขั้นตอนของนวัตกรรม จนถึงการออกสู่ตลาดเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดในอนาคตต่อไป


ที่มา: Bangmod News

หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ 


บทความนี้สนับสนุนโดย หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) หลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885

LINE : @GMIKMUTT

หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program

สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply 

#GMI #KMUTT #EPM

เรื่องที่น่าสนใจอื่น

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ

[กดที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อน]

Copyright (c) 2023, Edunet Company Limited