สร้างเนื้อหาด้วย 'คำดึงดูด'
BRAINCLASS.ORG by Parameth Vor x MBA Story
สร้างเนื้อหาด้วย 'คำดึงดูด'
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
หลักสูตรการจัดการผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
แนวคิด
การสร้างเนื้อหาด้วย 'คำดึงดูด' เป็นการเลือกใช้คำที่ทำให้สามารถหยุดสายตาผู้อ่านหรือสร้างความสนใจจากผู้ฟัง เนื่องจากการทำงานของสมองต่อการตีความของคำแต่ละคำจะถูกแปลความและสร้างความสตใจไม่เท่ากัน ดังนั้นการใช้คำดึงดูดจึงเป็นการเลือกใช้คำที่สร้างความสำคัญของความสนใจต่อสภาพแวดล้อมด้านเนื้อหาให้มากที่สุด
ข้อดีสำคัญของการสร้างเนื้อหาด้วย 'คำดึงดูด' จึงเป็นการสร้างความสนใจ (หยุดสายตา) และการกระตุ้นนให้เกิดพฤติกรรมหรือการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามต้องเลือกใช้คำให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดความแตกต่าง อย่าใช้คำดึงดูดฟุ่มเฟือย และอย่าโกหกหรือเกินจริง
ตัวอย่าง
เปลี่ยนคำว่า 'วิธี' เป็น 'เคล็ดลับ' (เคล็ดลับการเรียนเหมือนอัพไอคิว)
เปลี่ยนคำว่า 'เด็ก' เป็น 'ลูกชายหรือลูกสาวของคุณ' (เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากกลุ่มเฉพาะ)
เปลี่ยนคำว่า 'ยี่สิบที่นั่ง' (ทั้งหมดที่มีขาย) เป็น 'ยี่สิบที่นั่งสุดท้าย'
กลุ่มคำที่สร้าง 'การดึงดูด'
กลุ่มคำที่ให้ความรู้สึกเชื่อมโยงและมีส่วนร่วม (เชื่อมโยงระหว่างคนพูดและคนฟัง) คือเป็นเรื่องของเราไม่ใช่เรื่องทั่วไป เช่น คุณ ของคุณ เฉพาะ (ศิษย์เก่า คุณหมอ ข้าราชการ คนโสดมากกว่า 5 ปี) (ไม่) เหมาะกับ (ใคร) (ไม่) เหมาะสำหรับ (ใคร)
กลุ่มคำที่ช่วยยืนยัน (ทำให้เชื่อ) เช่น ความจริง ตัวจริง ประสบการณ์จริง มีประสบการณ์ หรือตัวอย่างประโยค "ยอดขายเพิ่ม 2 เท่าทันที จากหลักสูตรที่กลั่นกรองจากประสบการณ์จริง"
กลุ่มคำที่เพิ่มความพิเศษ เป็นคำที่ให้ความสำคัญด้านความพิเศษหรือมีแค่บางช่วงเวลา หรืออาจสูญเสียโอกาสไป เช่น ครั้งแรก ไม่เคย เคล็ดลับ เทคนิค มากกว่า รวย ฟรี ง่าย พิเศษ ดังตัวอย่างประโยค "เปิดเผยที่นี่ครั้งแรก" "วีดีโอที่ดูแล้วทำให้ธุรกิจโตเป็น 2 เท่า"
กลุ่มคำที่เร่งให้ตัดสินใจ เช่น ตอนนี้ วันนี้ วันเดียว สุดท้าย จำกัด หรือตัวอย่างประโยค "สำรองพื้นที่ทันที" "สำรองสิทธิ์ของท่านด่วน" หรือ "50 ที่นั่งสุดท้าย"
กระบวนการในการคิด
กระบวนการคิดประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน
(2) ระบุ 'สิ่งที่ต้องการสื่อ' (คำหรือประโยคธรรมดาที่สามารถอธิบายได้ชัดเจน)
(3) ใส่คำดึงดูดลงไป (อย่าเติมเยอะเกินไป) ซึ่งเริ่มจากคำธรรมดาและค่อยเติมคำดึงดูด
(5) ทดสอบ ทดสอบประโยคที่มีคำดึงดูด (กับคนรู้จัก กลุ่มตัวอย่าง หรือลูกค้า/ผู้รับสาร)
ลองทำดู
(1) กลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน: ______________________________________________________________
(2) ระบุสิ่งที่ต้องการสื่อ: "___________________________________________"
(3) ให้คำดึงดูดลงไปในประโยค (ดูตัวอย่างกลุ่มคำดึงดูดในหัวข้อกลุ่มคำที่สร้าง 'การดึงดูด') '______' '______' ลองสัก 20 ประโยค
(4) การสร้างและผสมข้อความ:
(ข้อความ 1) _____________________________________________________________
(ข้อความ 2) _____________________________________________________________
(ข้อความ 3) _____________________________________________________________
(ข้อความ 4) _____________________________________________________________
(ข้อความ 5) _____________________________________________________________
(ข้อความ 6) _____________________________________________________________
(ข้อความ 7) _____________________________________________________________
(ข้อความ 8) _____________________________________________________________
(ข้อความ 9) _____________________________________________________________
(ข้อความ 10) _____________________________________________________________
(ข้อความ 11) _____________________________________________________________
(ข้อความ 12) _____________________________________________________________
(ข้อความ 13) _____________________________________________________________
(ข้อความ 14) _____________________________________________________________
(ข้อความ 15) _____________________________________________________________
(ข้อความ 16) _____________________________________________________________
(ข้อความ 17) _____________________________________________________________
(ข้อความ 18) _____________________________________________________________
(ข้อความ 19) _____________________________________________________________
(ข้อความ 20) _____________________________________________________________
(4) เลือกข้อความที่ใช่มากที่สุดที่มีเทคนิคคำซ้ำ (จาก (5)): _____________________________________
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ หรือ Line: @061jlshn
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
เรื่องที่น่าสนใจอื่น
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
Copyright (c) 2023, Edunet Company Limited