ลดขยะบริหารจากการสังเคราะห์กิจกรรมองค์กร
BRAINCLASS.ORG by by Parameth Vor x MBA Story
ลดขยะบริหารจากการสังเคราะห์กิจกรรมองค์กร
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร หลายครั้งเราสามารถคลี่วิธีการจัดการของเราออกมาเพื่อดูว่าวิธีการจัดการและบริหารของเราทำได้ดีพอหรือยัง ซึ่งคำว่าดีพอสำหรับบทความนี้จะเป็นการแนะนำถึง (1) ประเภทกิจกรรมหลักองค์กร และ (2) ประเภทของขยะจากการแนวคิดการบริหารจัดการที่ควรนำมาทบทวนพัฒนา
ประเภทกิจกรรมหลักองค์กร
เพื่อให่ไม่ยากไปในการนำมาคิดวิเคราะห์ กิจกรรมหลักองค์กรจะประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่
(1) กิจกรรมที่จำเป็นที่สร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจผ่านการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบให้เป็นสินค้าที่มีคุณค่าต่อผู้รับบริการหรือลูกค้า
(2) กิจกรรมที่จำเป็นแต่ไมาสร้างมูลค่าเพิ่ม กิจกรรมที่เป็นขยะแต่มันต้องมีเนื่องตากมันอยู่ในกระบวนการทำงานหรืออยู่ในข้อบังคับทางกฎหมายหรือนะเบียบ
(3) กิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นกิจกรรมที่สร้างขยะในกระบวนการทำงานที่สะท้อนจากแนวคิดการบริหาร ซึ่งอันนี้ต้องกำจัดออกไป เช่น การรอคอย
ของเสีย (ขยะ) จากกิจกรรมองค์กรที่สะท้อนจากแนวคิดการบริหารองค์กร
ขยะหรือของเสียจากกิจกรรมองค์กรที่มาจากแนวคิดบริหารระบบงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท ดังนี้
ความเร็วที่เร็วกว่าที่จำเป็น: การสร้างมากเกินไปของสินค้าหรือบริการที่ทำให้กระบวนการผลิต คุณภาพ และผลิตภาพเสียหาย ในอดีตเรียกว่าการผลิตเกิน และนำไปสู่การสะสมของวัสดุและการสูญเสียเวลาในการผลิต
เวลารอ: เวลาใดๆที่ต้อรอโดยที่ไม่มีกิจกรรมใดที่สร้างคุณค่า
การขนส่งและการเคลื่อนย้าย: กระบวนการที่ใช้ในการขนส่ง ย้ายสินค้าไปมาและการเคลื่อนไหวที่มากเกินจำเป็น
การประมวลผล: การแก้ปัญหาอย่างซับซ้อนเกินไปสำหรับกระบวนการที่เรียบง่าย ส่วนมากนี้นำไปสู่การจัดวาง การสื่อสาร และการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น
สต็อกเกิน: สินค้าคงคลังจำนานมากเกินไป ทำให้เวลาในการผลิตเพิ่มขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสูง ในอดีตเรียกว่าสต็อกที่ไม่จำเป็น
การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น: การสูญเสียที่พนักงานใช้พลังงานมากเกินไป เช่น การเก็บของ การงอตัว หรือการยืดเหยียด ในอดีตเรียกว่าการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น และมักสามารถหลีกเลี่ยงได้
การแก้ไขข้อผิดพลาด: ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับข้อบกพร่องหรือทรัพยากรที่ต้องใช้ในการแก้ไขข้อผิดพลาด
ทักษะและความรู้ของพนักงานที่ไม่ได้ใช้: การไม่ใช้ศักยภาพที่เต็มที่ของทักษะและความรู้ของพนักงาน โดยพื้นฐานแล้วแนวคิดการจัดการแบบลีนส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่ไม่ได้ใช้: การไม่นำความคิดสร้างสรรค์และแนวคิดนวัตกรรมของพนักงานมาใช้ ดยพื้นฐานแล้วแนวคิดการจัดการแบบลีนส่งเสริมวัฒนธรรมการพัฒนาต่อเนื่องที่ให้กำลังใจให้พนักงานเสนอแนะและพัฒนาการปรับปรุง
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
เรื่องที่น่าสนใจอื่น
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
Copyright (c) 2023, Edunet Company Limited