สรุปเทคนิคการเขียนบทความสำหรับมือใหม่
BRAINCLASS.ORG by Parameth Vor x MBA Story
สรุปเทคนิคการเขียนบทความสำหรับมือใหม่
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
หลักสูตรการจัดการผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ไฮไลต์
เทคนิคการเขียนบทความต้องมีการวางแผนการดำเนินการ โดยมี 4 ขั้นตอนสำคัญได้แก่ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ระบุกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาบทความ และการวางกลยุทธ์สื่อเพื่อการกระจายบทความ
เมื่อเริ่มเขียนบทความอาจจะต้องวางโครงสร้างการเขียน ซึ่งจะประกอบด้วย จุดเริ่มต้น ใจความ และปิดจบ โดยอาจมีไฮไลท์ไว้เพื่อให้จัประเด็นสำคัญ
สำหรับนักเขียนบทความมือใหม่เพื่อสร้างบลอค เพื่อสร้างเนื้อหาสำหรับสื่อออนไลน์หรือเพื่อการเริ่มเขียนบทความหรือหนึงสือสั้นๆ สามารถทำได้ไม่ยากเลยหากทราบเทคนิคที่นักเขียนส่วนมากไม่ค่อยอยากบอกให้รู้ ซึ่งโดยสาระสำคัญแล้วก็สรุปได้ว่าต้องมี 4 ส่วน อันได้แก่
(1) การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าจะเขียนบทความไปเพื่ออะไร (เช่น ต้องการโฆษณา ต้องการเปลี่ยนความคิด ต้องการให้ความรู้) และคนอ่านได้อะไร
(2) กลุ่มเป้าหมาย คือการสรุปให้ได้ว่ากลุ่มคนอ่านเป็นใคร โดยอาจพิจารณาจาก 2 ส่วนหลักได้แก่
ลักษณะทางประชากรศาสตร์ เช่น ผู้หญิง ทำงานกินเงินเดือน อายุ 22 ถึง 35 ปี
AIO: กิจกรรม (Activity) ความสนใจ (Interest) และความคิดเห็น (Opinion) ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ชอบเที่ยว ชอบอ่านหนังสือ สนใจการเดินทางคนเดียว สนใจการเงินการลงทุน
(3) การพัฒนาบทความ เป็นการพัฒนาการเล่าเรื่องของบทความ ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบอย่างง่าย เช่น สูตรการเขียนบทความอย่างง่ายสามลำดับ (ที่จะอธิบายต่อไปหรือรูปแบบการเล่าเรื่องอื่นๆ ที่สามารถอ่านเพิ่มได้ที่นี่)
(4) กลยุทธ์สื่อเพื่อการกระจายบทความ เป็นการพิจารณาถึงแหล่งกระจายบทความ (เช่น เว็บไซต์ของท่าน สื่อสังคมออนไลน์ บลอคสาธารณะ) ความถี่ในการลงบทความ (วันละครั้ง เดือนละครั้ง) รูปแบบของสื่อ (วีดีโอ บทความ พอทแคส รูปภาพ เสียง ไลฟ์)
เริ่มเขียนบทความอย่างง่ายด้วยสูตรการเขียนบทความอย่างง่ายสามลำดับ
การเขียนบทความอย่างง่ายด้วยสูตรการเขียนบทความอย่างง่ายสามลำดับนั้น สามารถแบ่งลำดับการเขียนได้ ดังนี้
(1) จุดเริ่มต้น (Introduction) อาจจะเริ่มต้นจากที่มาที่ไป แนะนำตัว หรือแม้แต่การตั้งคำถาม กระบวนการ ความล้มเหลว เช่น อยากลองใช้ชีวิตแบบลูกสาวเจ้าสัวพันล้านในไทย 1 วัน
(2) ใจความ (Body) เป็นการแบ่งย่อยหัวจุดเริ่มต้นหรือสิ่งที่ต้องการสื่อสาร และเขียนขยายหัวข้อเหล่านั้น เช่น (จากจุดเริ่มต้น (1)) ลูกสาวเจ้าสัวพันล้านมีใครบ้าง กิจกรรมของลูกสาวเจ้าสัวคืออะไร เรื่องงาน เรื่องกิน เรื่องเที่ยว เรื่องการพัฒนาตนเอง และเรื่องวิธีคิด ถ้าจะลองต้องใช้เงินเท่าไหร่ต่อวัน แนวทางการได้มาซึ่งเงินใช้ชีวิตแบบลูกสาวเจ้าสัว สิ่งที่เรียนรู้
(3) ปิดจบ (Ending) เป็นการสรุป ทบทวนประเด็นสำคัญ หรือตอบคำถามที่ตั้งไว้ (อย่าลืมเชื่อมโยงกับจุดเริ่มต้นและใจความ)
การวางแผนการเขียนบทความ
ก่อนเขียนบทความอาจจะต้องมีการวาง 'แนวทาง' ในการเขียนบทความแต่ละครั้ง ดังนี้
(1) วัตถุประสงค์การเขียน: _____________________________________________________
(2) กลุ่มเป้าหมาย: ______________________________________________________________
(3) สื่อที่จะลง: ___________________________________________________________________
(4) โครงสร้างเนื้อความ:
จุดเริ่มต้น _______________________________________________________________
ไฮไลท์ (เป็นข้อๆ จะบอกว่าผู้รับสารได้อะไร) _____________________
ใจความ _________________________________________________________________
การปิดจบ ______________________________________________________________
ทดลองคิด
จงสร้างบทความขายที่ดริปกาแฟ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น ผู้ชายหรือผู้หญิง อายุ 25-45 ปี พนักงานบริษัทขนาดใหญ่ในกรุงเทพและปริมณฑล สนใจกาแฟเฉพาะทาง และทำกาแฟทานเองเป็นกิจกรรมอดิเรกในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์
(1) วัตถุประสงค์การเขียน: _____________________________________________________
(2) กลุ่มเป้าหมาย: ______________________________________________________________
(3) สื่อที่จะลง: ___________________________________________________________________
(4) โครงสร้างเนื้อความ:
จุดเริ่มต้น _______________________________________________________________
ไฮไลท์ (เป็นข้อๆ จะบอกว่าผู้รับสารได้อะไร) _____________________
ใจความ _________________________________________________________________
การปิดจบ ______________________________________________________________
ประเภทเนื้อหาที่ได้รับความนิยม
ประเภทเนื้อหาที่ได้รับความนิยมสามารถแบ่งออกเป็น 9 หมวด ซึ่งท่านสามารถลองค้นหาข้อมูลเรื่องเหล่านี้และลองเขียนบทความตามหมวดหมู่นี้ได้เลย
แฟชั่น (ความสวย ความงาม เทรนสวย)
ท่องเที่ยว
เทคโนโลยี (รีวิวเทคโนโลยี การใช้งาน หาของถูก)
อาหาร (หาที่กิน ส่วนผสม วิธีทำ)
การเงิน (การหาเงิน การลงทุน วิธีรวยฟ้าผ่า)
สุขภาพ (สวยจากภายใน สุขภาพกาย สุขภาพใจ อาหารต้องห้ามสุขภาพ ส่วนผสมล้ำค่าเพื่อสุขภาพความเป็นชายเป็นหญิง)
ไฟล์สไตล์ (กิจกรรม ความสนใจ ความคิดเห็น ต่อเรื่องต่างๆ)
การเรียน (การเรียน สรุปให้ พัฒนาตัวเอง)
บันเทิง (เรื่องผี เรื่องขำขัน)
แถมให้
สถานที่ปล่อยเนื้อหา
สถานที่ที่จะช่วยเก็บและกระจายเนื้อหาให้ท่านตามวัตถุประสงค์ด้านความชอบส่วนตัวหรือเรื่องของการพัฒนาแบรนด์ สามารถทดลองใช้ได้ที่ Wordpress, Medium, Blogger หรือ Facebook note.
การแทรกรูปภาพ
สำหรับบลอคที่ต้องการแทรกรูปภาพ สูตรง่ายๆ ว่าต้องใส่รูปภาพเท่าไหร่คืออย่างน้อย 1 รูปต่อ 350 คำ รูปประกอบไม่ผิดลิขสิทธิ์สามารถหาได้ที่ IM Creator, Stocksnap.io, lifeofpix และ unsplash
ตัวอย่างหัวข้อที่เริ่มได้ทันที
การใช้ชีวิตในหนึ่งวัน
ข้อมูลสถิติที่สำคัญ
รายชื่อหนังสือหรือสื่อที่ดี
รีวิวหนังหรือหนังสือ
เล่าเรื่องราว (ความกลัว ความกล้า หรือแรงบรรดาลใจ)
ฮาวทูทำอะไรต่างๆ
เขียนข้อมูลสัมภาษณ์คนดังหรือคนสำคัญ
เล่าเรื่องที่เกี่ยวกับการตั้งเป้าหมาย การวางแผน (ให้ถึงล้าน)
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ หรือ Line: @061jlshn
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
เรื่องที่น่าสนใจอื่น
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
Copyright (c) 2023, Edunet Company Limited