ทำสินค้าขายต้องระวังอะไร?
BRAINCLASS.ORG by Parameth Vor x MBA Story
ทำสินค้าขายต้องระวังอะไร?
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
หลักสูตรการจัดการผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและจำหน่ายสินค้า ณ ปัจจุบันมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการตลาดที่ต้องบริหารจัดการสินค้า ลองมาดูกันว่ามีความเสี่ยงใดบ้าง จะได้เตรียมหาแนวทางในการจัดการ
ความเสี่ยงด้านตลาด: เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก (1) การเปลี่ยนแปลงความชอบสินค้า (2) การเพิ่มขึ้นของคู่แข่ง (3) การเปลี่ยนแปลงของความต้องการในตลาด (4) กำลังซื้อลดลงจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ (5) การเข้าสู่ตลาดของคู่แข่งจำนวนมาก
ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี: เกิดจาก (1) เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงทำให้เทคโนโลยีเดิมลดความสำคัญลง (2) ความท้าทายด้นเทคโนโลยีในการพัฒนาสินค้า (3) การพึ่งพิงคู่ค้าในการได้มาซึ่งเทคโนโลยี
ความเสี่ยงด้านการเงิน: เกิดจาก (1) ต้นทุนในการพัฒนาสินค้าเกินงบประมาณหรือเกินจุดคุ้มทุน (2) มีต้นทุนแฝง (3) งบประมาณในการเปิดตัวสินค้าและนำสินค้าเข้าตลาดไม่เพียงพอ
ความเสี่ยงด้านกฎหมายและกฎระเบียบ: เกิดจาก (1) การเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ (2) การกำกับดูแลให้สอดคล้องกับกฎหมายหรือกฎระเบียบในประเทศต่างๆ (3) กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความรับชอบต่อลูกค้า
ความเสี่ยงจากห่วงโซ่อุปทาน: เกิดจาก (1) การมีปัญหาด้านการเข้าถึงและการได้รับการส่งมอบของวัตถุดิบ (2) การพึ่งพิงคู่ค้ามากเกินไป
ความเสี่ยงจากเวลาในการเข้าตลาด: เกิดจาก (1) การเข้าตลาดเร็วหรือช้าเกินไป (2) การพลาดโอกาสการจำหน่ายสินค้าจากฤดูกาลขาย
ความเสี่ยงด้านลูกค้า: เกิดจาก (1) การลอกเลียนแบบ (2) ความเสี่ยงในการพัฒนาตลาดของสินค้า (3) ความเสี่ยงจากการรักษาลูกค้าหรือสร้างการมีส่วนร่วม (4) ความเสี่ยงด้านการปรับเปลี่ยนสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการท้องถิ่น
ความเสี่ยงด้านเทคนิค: เกิดจาก (1) ความซับซ้อนเชิงเทคนิกที่มากเกินไป (2) ความเสี่ยงจากนวัตรกรรมที่ไม่ทราบถึงประเด็นปัญหาที่ซ้อนอยู่ (3) เทคนิดที่มีมาตรฐานต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (4) การพึ่งพิงทางเทคโนโลยีกับคู่ค้า (5) การใช้เทคโนโลยีที่ไม่สามารถผลิตในปริมาณมากได้ (6) ความเสี่ยงจากการควบคุมคุณภาพ (7) ความเสี่ยงจากการร่วมกันหรือเข้ากันได้กับอุปกรณ์อื่น (8) ความเสี่ยงด้านการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ครบถ้วนหรือเพียงพอ
ความเสี่ยงจากการจัดสรรทรัพยากร: เกิดจาก (1) ความเสี่ยงจากการจัดการทรัพยากรและเวลา (2) ความเสี่ยงจากไม่สามารถพัฒนาต่อยอดหรือปรับปรุงได้ในอนาคต
ความเสี่ยงจากการเข้าถึงลูกค้า: เกิดจาก (1) ความเสี่ยงจากการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า (2) ความเสี่ยงจากการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า (3) การมีสินค้าหลากหลายประเภทเกินไป
ความเสี่ยงด้านตราสินค้า: เกิดจาก (1) ทัศนคติที่เป็นลบ หรือความเสียหายต่อตราสินค้าจากข้อบกพร้องของสินค้า (2) ความเสี่ยงจากการที่ตราสินค้าไม่สามารถส่งมอบคุณค่าตราสินค้าต่อผู้บริโภค
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ หรือ Line: @061jlshn
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
เรื่องที่น่าสนใจอื่น
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
Copyright (c) 2023, Edunet Company Limited