ปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดแยกไว้ให้...เอาไปได้เลย
BRAINCLASS.ORG by Parameth Vor x MBA Story
ปัจจัยกระตุ้นทางการตลาด แยกไว้ให้...เอาไปใช้ได้เลย
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผู้ประกอบการหลายท่านต้องการทราบว่าจะกระตุ้นให้ 'ลูกค้า' หรือ 'ว่าที่ลูกค้า' มาซื้อหรือใช้สินค้าได้อย่างไร? ถ้าเอามุมมองทางการตลาดมามองหลายท่านก็อาจจะว่า สี่พี (4Ps) ใช่ไม้ คำตอบคือใช่แหละส่วนหนึ่ง เพียงแต่วันนี้ท่านได้เข้าใจอย่างจริงจังหรือไม่ว่าต้องมองมิติอะไรของ (4Ps) บ้าง
ท้าวความให้นิดหนึ่งสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับ สี่พี (4Ps) สำหรับการตลาดนั้น สี่พี (4Ps) เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริโภค ตัดสินใจซื้อสินค้าจากผู้ผลิต (หากท่านเป็นผู้ให้บริการจะต้องใช้ เจ็ดพี (7Ps)) สำหรับ สี่พี (4Ps) นั้นประกอบด้วยปัจจัยกระตุ้นด้าน สินค้า (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และ การส่งเสริมการขาย (Promotion)
หากจะประยุกต์ใช้จริงการทราบแค่ปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดหลักๆ สี่พี (4Ps) นี้อาจจะไม่เพียงพอ วันนี้ขอใส่รายละเอียดให้เพิ่มเพื่อจะได้เอาไประบุและหาแนวทางใช้ปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้ในการไปสร้างโอกาสทางการตลาดให้มากขึ้น
ปัจจัยกระตุ้นด้านสินค้า
หน้าที่เฉพาะของสินค้า (Core functionality)
คุณสมบัติของสินค้า (Feature)
ความแตกต่างสินค้าและนวัตรกรรม
ส่วนผสมสินค้า (ความหลากหลายของสินค้า ความลึกของสินค้า)
คุณภาพ
การออกแบบ
วัสดุ
การควบคุมคุณภาพ
อินเตอร์เฟสของระบบ (ความยากง่ายในการควบคุมการใช้งาน) (UX/UI)
ตราสินค้า
บรรจุภัณฑ์ของ
ความสามารถในการอัพเกรดสินค้า
ความสอดคล้องของสินค้ากับผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง (Compatability)
ขนาด
ผิวสัมผัส/รสสำผัส
การมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับทระพย์สินทางปัญญา
ป้ายแสดงลักษณะสินค้า (Label)
การให้บริการ (ก่อน ระหว่าง และหลังการขาย)
การรับประกัน
ความสอดคล้องกับกฎหมาย (Regularoty compliance)
การคืนสินค้า
การให้บริการหลังการขาย และช่องทางการขอรับความช่วยเหลือ/ร้องเรียน
เอกสารประกอบการใช้่งานสินค้า
ปัจจัยกระตุ้นด้านราคา
ราคาที่กำหนด
ส่วนลด
เงินช่วยเหลือ ค่าเผื่อ (สำหรับ B2B)
ระยะเวลาชำระหนี้/ช่วงเวลาชำระเงิน (เช่น เงินนสด ภายใน 30 วัน)
การให้ช่วงเวลาในการชำระเงิน "ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง"
ผ่อนชำระให้
ปัจจัยกระตุ้นด้านช่องทางการจัดจำหน่าย
ช่องทาง
ขอบเขตการขาย
การแบ่งและจัดเรียงสินค้า
ทำเลที่ตั้ง
การถือคองสินค้าคงคลัง (เพื่อให้มีสินค้าพร้อมขายตลอด)
การขนส่งให้กับลูกค้า
ปัจจัยกระตุ้นด้านการส่งเสริมทางการตลาด
การส่งเสริมการขาย
การโฆษณา
การใช้พนักงานขาย
การประชาสัมพันธ์
การตลาดทางตรง
ปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นๆ ในการทำการตลาดสินค้าให้กับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าสุดท้ายหรือกลุ่มผู้ซื้อพาณิชย์ ท่านสามารถเอาปัจจัยย่อยเหล่านี้มาคิดเป็นแนวทางในบการทำตลาดของท่านนะครับ
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
เรื่องที่น่าสนใจอื่น
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
Copyright (c) 2023, Edunet Company Limited