BUSINESS MODEL, BUSINESS OBJECTIVES & MARKETING OBJECTIVES


EPM, GMI, KMUTT 

โมเดลธุรกิจ (พื้นฐาน)

วิสัยทัศน์องค์กร: ?


พันธกิจ: ?


ค่านิยมหลัก:

จากข้อมูลด้านวิสัยทัศน์องค์กร พันธกิจ ค่านิยม และผลประกอบการคุณคิดว่า บริษัท ควรเน้นสร้างความสามารถในการแข่งขันในด้านใด? (คลิกที่นี่เพื่อตอบ)

LinkFacebookLinkYouTube

โมเดลทางธุรกิจ

โมเดลทางธุรกิจ คือขอบเขตการดำเนินการของท่านที่จะทำให้ธุรกิจของท่านอยู่รอดได้  โมเดลธุรกิจจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ (1) ส่วนของกระบวนการในการสร้างคุณค่า และ (2) ส่วนของการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและการสร้างรายได้

ส่วนของกระบวนการในการสร้างคุณค่า 

ในส่วนของการสร้างคุณค่านั้นเป็นกระบวนการในการสร้างคุณค่า (ผ่านการพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองคุณค่าเชิงกายภาพหรือเชิงจิตวิทยาแก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย) โดยในส่วนนี้จะเดี่ยวข้องกับ 4 องค์ประกอบสำคัญ อันได้แก่

ส่วนของการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและการสร้างรายได้

เป็นส่วนของการส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยแบ่งได้เป็น 4 องค์ประกอบสำคัญ อันได้แก่

การเข้าใจโมเดลการดำเนินการองค์กรจะทำให้สามารถพิจารณาได้ว่าวันนี้องค์กรทำอะไรอยู่ ต้องเกี่ยวข้องกับใครบ้างเพื่อสร้างคุณค่า และถ้าจะแข่งขันต่อเนื่องต้องทำอย่างไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์กิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมขององค์กรด้วย

[คลิกที่นี่เพื่อเอกสารประกอบกิจกรรม]

คุณค่าธุรกิจ/สินค้า

การที่ธุรกิจหรือสินค้าของท่านจะเข้าถึงหรืออยู่ในตลาดได้ (สินค้าหรือบริการตอบสนองความต้องการได้) จำต้องมี 'คุณค่า' ต่อกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีความต้องการต่อสินค้าเป็นประจำ ต่อเนื่อง และเป็นเป็นแหล่งรายได้สำคัญ) 

คุณค่าของสินค้าและบริการมาจากองค์ประกอบของสินค้า บริการหรือการสร้าง 'คุณค่า' ที่จับต้องไม่ได้ให้เชื่อมโยงกับสินค้า (เช่น ตราสินค้าที่จะสร้างคุณค่าในด้านการได้รับการยอมรับจากสังคม หรือการสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพหรือการลดความเสี่ยง) 

คุณค่าถูกพัฒนามาจากประโยชน์ที่ได้รับจากองค์ประกอบของสินค้าหรือบริการ เช่น  กล้องวีดีโอ (CCTV) สร้างประโยชน์ในแง่ของการบันทึกภาพวีดีโอ แต่อาจจะไม่มีคุณค่าถ้าแค่บันทึกได้ เพราะคุณค่าที่ลูกค้าต้องการจากกล้องวีดีโอ (CCTV) คือการลดความกังวลและความสบายใจจากการได้เก็นการเคลื่อนไหวหรือบันทึกการเคลื่อนไหวเพื่อเป็นหลักฐาน

คุณค่าของสินค้าและบริการ (แยกจากคุณค่าของธุรกิจ) สามารถแยกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

คุณค่าของสินค้าและบริการเหล่านี้ไม่ใช่ทุกกลุ่มเป้าหมายจะให้ความสำคัญ หรือให้ความสำคัญเท่ากัน ดังนั้นจึงต้องมีการระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อทราบได้ว่าคุณค่าที่คาดหวังจากลูกค้าเป็นเพียงประโยชน์จากสินค้าหรือต้องการได้รับคุณค่าจากสินค้า ซึ่งแนวทางการส่งมอบและการสร้างคุณค่า (ผ่านสินค้า บริการ และการจัดการองค์ประกอบ) จะแตกต่างกัน

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (ลูกค้า)

เมื่อเรามีการแบ่งกลุ่มลูกค้าออกมาเป็นกลุ่มย่อย เราเรียกกระบวนการนนี้ว่า 'การแบ่งกลุ่มตลาด' แต่ยังไม่ได้เป็นการระบุว่าเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (หรือลูกค้าที่เราจะลงทุนด้วยเพื่อสร้างคสวามสัมพันธ์และทำให้เกิดการขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ)

การแบ่งกลุ่มตลาดจะทำให้เราประเมินได้ว่ากลุ่มตลาดไหนที่เรามีความสามารถในการเข้าถึง รวมถึงการประเมินเงื่อนไขในการเข้าถึงกลุ่มตลาดนั้นว่าดีเพียงพอหรือไม่ (อาทิ เป็นกลุ่มที่มีความภัคดีสูงต่อตราสินค้า หรือเป็นกลุ่มที่ใช้บริการสินค้าหรือบริการคู่แข่งอยู่ หรือกลุ่มลูกค้านี้เป็นกลุ่มเฉพาะที่มีขนาดต่ำ) ตัวอย่างเช่น กลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ กลุ่มลูกค้าที่ท่องเที่ยวในประเทศ หรือกลุ่มลูกค้าที่ชอบซื้อของออนไลน์ ซึ่งตัวอย่างการแบ่งกลุ่มเหล่านี้ทำให้เราประเมินเบื้องต้นถึงความสามารถในการเข้าถึง ขนาดตลาด รวมถึงการประเมินเงื่อนไขในการเข้าถึงกลุ่มตลาด 

อย่างไรก็ดีการแบ่งกลุ่มตลาดนั้นควรที่จำทำให้ไม้กว้างจนเกินไปนัก เช่น 

การแบ่งกลุ่มตลาดออกเป็๋นกลุ่มย่อยและชัดเจนจะทำให้การระบุคุณค่าทำได้ง่าย และสามารถประเมินขนาดตลาด ความสามารถในการเข้าถึง การให้คุณค่าต่อสินค้าหรือบริการง่าย (และอย่างลืมว่าโครงสร้างต้นทุนการเข้าถึงแต่ละกลั่มเป้าหมาย และเงื่อนไขการเข้าถึงแต่ละกลุ่มไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน)

ทั้งนี้เมื่อมีการประเมินกลุ่มตลาดตามเงื่อนไขของขนาด ความสามารถในการเข้าถึง กำลังซื้อ ระดับของคุณค่าที่กลุ่มเป้าหมายจะให้ต่อสินค้าหรือบริการ (พิจารณาจากราคาซื้อ) และนำมาระบุ 'กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย' เพื่อจะเตรียมวางแผนการลงทุนทางการตลาดเพื่อเข้าถึงและกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจ

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและช่องทางการจัดจำหน่าย

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ามาจากพื้นฐานทางการตลาด 7 ขั้นตอน โดยสามารถจำได้ง่ายๆ ว่า "เข้าถึง เข้าใจ กระตุ้น ปิดขาย รักษา บอกต่อ และพัฒนา" หากแต่เครื่องมือที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยน (ซื้อ-ขาย) รู้จักกันในนามของ 4Ps ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยกระตุ้นด้านสินค้า ปัจจัยกระตุ้นด้านราคา ปัจจัยกระตุ้นด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยกระตุ้นด้านการส่งเสริมทางการตลาด โดยมีรายละเอียด ดังนี้


ปัจจัยกระตุ้นด้านสินค้า


ปัจจัยกระตุ้นด้านราคา


ปัจจัยกระตุ้นด้านช่องทางการจัดจำหน่าย


ปัจจัยกระตุ้นด้านการส่งเสริมทางการตลาด

ห่วงโซ่คุณค่า/กิจกรรมการสร้างและส่งมอบคุณค่า

ห่วงโซ่คุณค่า เป็นการออกแบบกิจกรรมภายในองค์กรเพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าที่สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร โดยเป้าหมายในการออกแบบนี้เพื่อให้เห็นถึงการสร้างคุณค่าของสินค้ามากกว่าต้นทุนการดำเนินการ และแนวทางในการจัดการต้นทุนเพื่อให้สินค้าหรือบริการมีมูลค่าสูงขึ้นภายใต้เงื่อนไขของ 'การส่งมอบคุณค่าที่เหมาะสมแกลูกค้า' ห่วงโซ่คุณค่าแบ่งออกเป็น สามส่วนได้แก่ (1) กิจกรรมหลัก (2) กิจกรรมสนับสนุน และ (3) มูลค่าเพิ่ม โดยสามารถอธิบายองค์ประกอบได้ดังนี้

มูลค่าเพิ่ม (ราคาขายและอัตราผลกำไร) 

มูลค่าเพิ่ม เป็นผลมากจาการดำเนินกิจกรรมในห้สวโซ่คุณค่าที่จะแปลงจากวัตถุดิบที่มีมูลค่าต่ำเป็นสินค้าที่มีมูลค่าที่สูงขึ้น โดยมูลค่าที่สูงขึ้นนั้นสามารถประเมินได้จาก ราคาขายและอัตราผลกำไร 

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลักเป็นกิจกรรนมทรี่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จที่มากขึ้น โดยมีกิจกรรมหลักอยู่ 5 กิจกรรม ดังนี้

โลจิสติกส์ขาเข้า เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมปัจจัยนำเข้าในการผลิตหรือดำเนินการ ซึ่งได้แก่ การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การรับสินค้าเข้า การจัดเก็บวัตถุดิบ และจัดการพื้นที่เก็บวัตถุดิบ การถือครองสินค้า การจัดการตารางวัตถุดิบเข้า รวมถึงการตีกลับหรือติดตามวัตถุดิบคงค้างการจัดส่งหรือส่งคืน

การผลิต/การดำเนินการ เป็นกระบวนการในการแปลงวัตถุดิบให้เป็นสินค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนการผลิต การขึ้นสานการผลิน การตรวจสอบคุณภาพ การจัดการอุปกรณ์การผลิต และการซ่อมบำรุงสายการผลิต รวมถึงกิจกรรมด้านการเก็บข้อมูลเพื่อการคิดตามหรือตรวจสอบย้อนกลับ

โลจิสติกส์ขาออก เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บสินค้าสำเร็จ การเคลื่อนที่ของสินค้าในพื้นที่เก็บ การบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่ง การเตรียมการนำสินค้าขึ้นเพื่อจัดส่ง การวางแผนพื้นที่กระจายสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า การขนส่ง และการจัดการคำสั่งซื้อลูกค้า

การตลาดและการขาย เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริทให้กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดรู้จัก สร้างความต้องการสินค้า นำสินค้าให้เข้าถึงลูกค้า และการกำหนดคุณค่าของสินค้าบริการในรูปแบบของราคา รวมถึงการรับคำสั่งซื้อและการจัดการคำสั่งซื้อ และการประสานงานด้านการผลิตและดำเนินการ

การให้บริการ เป็นกิจกรรมสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจและเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า เช่น การสนับสนุนการขาย ด้านการอบรมการใช้งาน การซ่อมบำรุง การอบรมลูกค้า การปรับแต่งสินค้า และการจัดเก็บส่วนประกอบสินค้าสำหรับการบริการ (ส่วนของการรับประกัน)

กิจกรรมสนับสนุน

กิจกรรมสนับสนุนเป็นกิจกรรมที่จะสร้างให้เกิดสินค้าหรือบริการรวมถึงคุณค่าที่เตรียมส่งมอบให้กับลูกค้า โดยกิจกรรมสนับสนุนประกอบด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ 

การจัดซื้อจัดหา เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วัตถุดิบ อุปกรณ์ สินค้าสิ้นเปลืองต่าง (ในส่วนนี้จะสนับสนุนทั้งองค์กรไม่เฉพาะกับการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตเท่านั้น)

การพัฒนาเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การพัฒนา และเทคโนโลยรที่เกี่ยวกับการพัฒนา 'สินค้า' และ 'กระบวนการ' ในองค์กร

การจัดการบุคคลากร  เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการระบุสมรรถนะ การจัดหาพนักงาน การเลิกจ้าง การพัฒนาพนักงาน และการจ่ายค่าตอบแทน หลายองค์กรจำเป็นต้องมีการจัดหาหนักงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความได้เปรียบองค์กรในมิติต่างๆ

โครงสร้างพื้นฐานองค์กร ประกอบด้วยกิจกรรมด้านการวางแผน การวางกลยุทธ์ การเงิน บัญชี กฎหมาย รัฐกิจสัมพันธ์ และการตรวจสอบ

** ดูตัวอย่างและเอกสารประกอบกิจกรรมที่นี่ **

ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรท่าน โดยเฉพาะส่วนที่เชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมมีปัญหาใดๆ หรือไม่? และคุณคิดว่ากลยุทธ์ที่เปลี่ยนไปจะต้องมีการปรับมิติต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทานหรือไม่?

การมีพันธมิตรเพื่อสร้างและส่งมอบคุณค่า

การพัฒนาและส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าโดยการมีพันธมิตรสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) การมีพันธมิตรเพื่อช่วยการพัฒนาสินค้าหรือบริการ และ (2) การมีพันธมิตรเชิงกลยุทธ์

การมีพันธมิตรเพื่อช่วยการพัฒนาสินค้าหรือบริการ 

เป็นพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าหรือบริการ สร้างคุณค่าแก้สินค้า การส่งมอบสินค้าหรือบริการในเชิงแฏิบัติการ เช่น คู่ค้าวัตถุดิบ ผู้ให้สิทธิในการผลิต ผู้รับช้างช่วงในการผลิต ผุ้รับจ้างกระจายสินค้าหรือนำสินค้าเข้าสู่ตลาด 

การมีพันธมิตรเชิงกลยุทธ์

การมีพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เป็นการที่ต้องการพันธมิตรเพื่อช่วยด้านการพัฒนาคตวามสามารถในการแข่งขัน เช่น การเป็นพันธมิตรกับรคู่แข่งเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับคำสั่งซื้อขนาดใหญ่ได้ หรือการเป็นพันธมิตรกันหน่วยงานวิจัยเพื่อสร้างความสามารถด้านการออกสินค้าที่มีนวัตรกรรมและการสร้างความแตกต่างให้กับสิสินค้า

การพิจารณาถึงพันธ์มิตรที่จะช่วยพัฒนาสินค้า สร้างคุรค่าให้สินค้า ส่งมอบคุณคต่าให้สินค้า หรือเป็นพันธมิตรเพื่อการสร้างความสามารรถในการแข่งขันหรือตอบสนองความต้องการลุกค้าได้มากขึ้นเป็นปัจจัยในโมเดลธุรกิจที่ต้องพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง

ต้นทุนในการส่งมอบคุณค่า

ต้นทุนในการส่งมอบคุณค่าโดยมากเกิดจาก (1) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนในห้วงโซ่คุณค่า (เช่น ต้นทุนสินค้าขาย ต้นทุนสินค้าเสียหาย ต้นทุนทางการตลาด ต้นทุนการกำกับดูแลคุณภาพ ต้นทุนค่าจ้างแรงงานเพื่อผลิต จัดการ และบริหาร) (2) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการถือครองทรัพยากร (ทั้งทรัพย์สินมีตัวตน ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน และการด้อยค่าหรือเสื่อมสภาพของทรัพย์สินเหล่านี้) (3) ต้นทุนเงิน (ดอกเบี้ย ค่าเสียโอกาส) (4) ต้นทุนทางกฎหมาย เช่น ภาษีและการตรวจสอบบัญชี 

รายได้

รายได้เป็นผลจากการวางแผนการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการแก้กลุ่มเป้าหมาย โดยสมการพื้นฐานคือ จำนวนขาย X ราคาขาย 

สำหรับจำนวนขายนั้นอาจจะมีหลายรูปแบบในการขาย (เช่น ขายเป็นชิ้น เป็นสมาชิกรายเดือน) แต่จะสัมพันธ์กับขนาด (จำนวน) ของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดและประสิทธิภาพการใช้เงินลงทุนในการทำการตลาดของกลุ่มเป้าหมาย) 

สำหรับราคาขายนั้นพื้นฐานจะมาจากต้นทุนของสินค้าหรือบริการและการให้คุณค่าของกลุ่มเป้าหมายต่อสินค้าหรือบริการ (ผ่านการยอมรับในราคา)  

โมเดลธุรกิจ (ต่อยอด)

ความสามารถในการแข่งขัน

การที่จะสามารถนำสินค้าเข้าไปในตลาดได้นั่นจำเป็นต้องพิจารณาถึง "ความสามารถในการแข่งขัน" ของตนเองในตลาดเพื่อที่จะได้ทราบได้ว่าควรจะเข้าไปแข่งหรือไม่ หรือถ้าเข้าไปแล้วควรจะจะแข่งอย่างไร

ตัวอย่างของความไดเปรียบในการแข่งขัน

การที่สามารถทำได้ในมิติตัวอย่างเหล่านี้เรียกว่า 'ความสามารถในการแข่งขัน' ประเด็นอยู่ที่ว่าการจะสร้างความสามารถในการแข่งขันได้นั้นต้องมีความชัดเจนว่าต้องไปทางไหนและไปอย่างไร เพราะทรัพยากรขององค์กรมีจำกัด  ดังนั้นการจะเสริมสร้างความสามารถแข่งขันได้นั้นจำเป็นต้องมองว่าต้องไปทิศทางไหนและจะต้องเตรียมความสามารถตรงไหนในการแข่งขันนั้นคือความสัมพันธ์ระหว่าง 'กลยุทธ์และความสามารถในการแข่งขัน'

การประเมินความสามารถในการแข่งขันในตลาด

การประเมินความสามารถในการแข่งขันในตลาดจะประเมินจาก (1) ปัจจัยความสำเร็จในการแข่งขันตลาด (อุตสาหกรรมเป้าหมาย) (2) ความสามารถและการดำเนินกิจกรรมของคู่แข่ง และ (3) ความสามารถภายในขององค์กรต่อปัจจัยความสำเร็จในการแข่งขันตลาด (อุตสาหกรรมเป้าหมาย)

ปัจจัยความสำเร็จในการแข่งขันตลาด (อุตสาหกรรมเป้าหมาย)

ปัจจัยความสำเร็จในการแข่งขันในตลาดนั้นเป็นการพิเคราะห์ว่าผู้เล่น (คู่แข่ง) ในตลาด (อุตสาหกรรมเป้าหมาย) ทั้งขนาดเล็ก กลาง หรือขนาดใหญ่ มีปัจจัยใจใดที่เหมือนกันที่ทำให้อยู่รอดได้ในตลาด (อุตสาหกรรมเป้าหมาย) เช่น การมีเงินทุน ความสามารถในการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ ความสามารถในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ การมีทำเลที่ตั้งที่ดี การลดการสูญเสียได้เยอะ การครอบคลองช่องทางการจัดจำหน่าย การสร้างตราสินค้า การจัดการต้นทุน การมีนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ตวามสามารถในการเสาะหาวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง หรือการสร้างเงื่อนไขการเข้าตลาดของคู่แข่ง (เช่น สัมปทาน สัญญา) 

ความสามารถและการดำเนินกิจกรรมของคู่แข่ง (ที่อยู่รอดในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งขนาดเทียบเท่าและขนาดที่ใหญ่กว่า)

การจะเข้าตลาดได้นั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์ (1) ความสามารถทางการแข่งขัน (2) กิจกรรมของคู่แข่ง โดยความสามารถทางการแข่งขันของคู่แข่งนั้นสังเคราะห์ควบคู่กับปัจจัยความสำเร็จในการแข่งขันตลาด (อุตสาหกรรมเป้าหมาย) เช่น ปัจจัยความสำเร็จจำเป็นต้องมีความสามารถในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งคู่แข่งทางตรง (ขนาดเทียบเท่า) สามารถทำได้หรือไม่ ถ้าเขาทำได้และเรายังทำไม่ได้แสดงว่าเรายังแข่งขันไม่ได้ในมิตินี้ หรือการที่ความสามารถในการจัดหาเงินสดมาซื้อวัตถุดิบจำนวนมากนั้นเป็นการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ ซึ่งหากคู่แข่งมีกำลังซื้อวัตถุดิบในปริมาณมากเพื่อคุมคุณภาพหากเรายังไม่สามารถทำได้ก็จะเป็นปัญหาในการเข้าตลาดเพื่อแข่งขัน 

สำหรับกิจกรรมของคู่แข่ง (ที่อยู่รอดได้ในตลาดหรืออุตสารหกรรมเป้าหมาย) นั้นถ้าเราศึกษาให้ดีจะเป็นการลดเวลาและต้นทุนการเข้าตลาดเนื่องจากกิจกรรม (การคลาดและการดำเนินการ) ของคู่แข่งที่อยู่ในตลาดจะมาจากการทดลองผิดถูกมาและระดับหนึ่ง หากสังเคราะหืและเจอว่าคู่แข่งสามารถนำสินค้าเข้าตลาดได้เนื่องจากมีการรับรับการรับรองมาตรฐาน และสามารถจัดการได้กับเงื่อนไขของช่องทาง สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นสิ่งที่เราจะต้องนำมาพิจารณาและวางแผนในแผนธุรกิจหรือแผนทางการตลาดหรือไม่

ความสามารถภายในขององค์กรต่อปัจจัยความสำเร็จในการแข่งขันตลาด (อุตสาหกรรมเป้าหมาย) และการมีพันธมิตร

ทรัพยากรขององค์กรเป็นเครื่องมือที่จะประเมินความสามารถในด้านของความเป็นไปได้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร ทรัพยากรขององค์กรประกอบด้วยทรัพยากรที่จับต้องได้และทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ ดังนี้

ทรัพยากรที่องค์กรมีทุกอันไม่ได้เป็นทรัพยากร 'สำคัญ' ขององค์กร เนื่องจากทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรจะเป็นทรัพยากรที่ทำให้เกิดความสามารถในการดำเนินการขององค์กร และเป็นทรัพยากรที่ช่วยส่งมอบคุณค่าแก่ประชาชนหรือผู้รับบริการและสร้างความยั่งยืนแก่องค์กร ซึ่งแนวทางในการวิเคราะห์ทรัพยากรสำคัญสามารถพิจารณาได้ ดังนี้

สิทธิทางปัญญาอาจจะเป็นทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ที่องค์กรมีจากการวิจัย หากแต่ถ้ามันไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างคสวามสามารถในการแข่งขันในด้านใดเลย (เมื่อเทียบกับปัจจัยความสำเร็จในการแข่งขันในตลาด (อุตสาหกรรมเป้าหมาย) ก้ไม่มีประโยชน์ใดๆ 

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัจจัยความสำเร็จอุตสาหกรรม

ปัจตจัยภายนอกส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านปัจจัยความเสำเร็จของอุตสาหกรรม เช่น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าจากช่องทางปรกติเป็นช่องทางออนไลน์ ทำให้ผู้เล่นในตลาดที่มีสัดส่วนยอดขายและความสำเร็จจากช่องทางการขายปรกติ กลายเป็นผู้ที่ต้องแบกรับต้นทุนการเลี้ยงช่องทางปรกติไป 

ดังนั้นการวิเคราะการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมจะส่งผลต่อการหาข้อจำกัดและระบุโอกาสการเข้าตลาดหรือการแข่งขันได้การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่

การเปลี่ยนแปลงของนโยบายทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองส่งผลโอกาสและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายต่อปัจจัยความสำเร็จและโมเดลการดำเนินธุรกิจ เช่น นโยบายค่าแรงจะทำให้ต้นทุนการดำเนินการของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากสินค้าของท่านคือข้าวบรรจุถุงและความได้เปรียบในการแข่งขันคือราคา และปัจจัยด้านค่าแรงเป็นปัจจัยสำคัญด้านการแข่งขันและอยู่ได้ การเห็นถึงภัยคุกคามนี้จะทำให้สามารถแปลงเป็นโอกาสหรือต้องมาหาแนวทางในการแก้ไข

นอกเหนือจากนั้นการเมืองระหว่างประเทศก็จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายระดับประเทศทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น ผลกระทบของการเมืองระหว่างประเทศในส่วนของประเทศตะวันตก กับตะวันออกกลาง จีน และรัสเซีย ซึ่งส่งผลต่อการมีสินค้า ราคาสินค้า โอกาสการส่งออก การกำหนดงบประมาณป้องกันประเทศ 

การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจหมายถึงการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของ 'กำลังซื้อ' ภาคประชาชน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นมาจากการ ลงทุนของเอกชน การลงทุนของรัฐ (การส่งออกสินค้าหรือบริการ - การนำเข้าสินค้าหรือบริการ) ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นหรือลงลงของค่าจ้าง ค่าแรง ดอกเบี้ยรับ ปันผล/กำไร ทั้งนี้ปัจจัยที่จะมีผลได้แก่ ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน การอุดหนุนของรัฐ ภาวะเงินเฟ้อ การลงทุนจากต่างประเทศทั้งภายในและภายนอก นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ และภาวะเศรษฐกิจระดับโลก  

การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสังคม การเปลี่ยนแปลงของสังคมด้านพฤติกรรม ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และรวมถึงทัศนคติต่อสถาบันทางสังคม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กรหรือการบริการขององค์กร หรือแม้แต่การพัฒนาเปลี่ยนแปลงด้านขอบข่าย อำนาจหน้าที่ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น การที่มีการใช้กระเป๋าเงินอิเลคทรอนิกมากขึ้น ซึ่งอาำนาจกฎหมายไปไม่ถึงทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กร รวมถึงขอบเขตอำนาจในการเข้าถึงด้วย

การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ความคาดหวังต่อระดับการให้บริการของประชาชนและผู้รับบริการ และกฎหมายที่เข้าถึงการกำกับดูแล หรือแม้แต่การนำเสนอบริการใหม่ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบองคืกรเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรภายใน ต้นทุนการดำเนินการ การจัดการกระบวนการ การปรับโครงสร้างองค์กร การรายงานและการควบคุม รวมถึงข้อจำกัดการดำเนินการขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายที่ให้หน่วยนงานของรัฐให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และกฎหมายว่าด้วยการทำงานที่บ้านของประชาชนและข้าราชการ

การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการให้การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อการดำเนินการขององค์กร ซึ่งสัมพันธ์กับราคาวัตถุดิบ การนมีอยู่ของวัตถุดิบ ต้นทุนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม หรือการเข้าถึงวัตถุดิบได้ เช่น เนื่องจากเกษตรกรได้รับกระทบจากภาวะแล้งทำให้ไม่สามารถผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อนไปสู่การผลิตได้)

กรณีศึกษาเพื่อการวิเคราะห์โมเดลทางธุรกิจ

เป้าหมาย: เพื่อให้สามารถพัฒนาโมเดลทางธุรกิจ 2. เพื่อสามารถสังเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งของโมเดลทางธุรกิจเพื่อการพัฒนาแผนธุรกิจ

กรณีศึกษา โรงงานผลิตปลาหมึกเส้นอบยี้ห้อสคิดดี้

จากกรณีศึกษา จงพัฒนาโมเดลทางธุรกิจของโรงงานผลิตปลาหมึกเส้นอบยี้ห้อสคิดดี้ โดยใช้แบบฟอร์มนี้

การพัฒนาเป้าหมายทางธุรกิจ

ความสำคัญของวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ


วัตถุประสงค์ทางธุรกิจเป็นเป้าหมายที่องค์กรตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องบรรลุ เนื่องจากว่าการที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ อาจจะส่งผลลัพธ์ต่อ 1. การอยู่รอดของธุรกิจ 2. การสูญเสียโอกาสด้านการแข่งขัน หรือ 3. อาจจะทำให้ไม่สามารถตอบวัตถุประสงค์ของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียได้


ระยะเวลาในการใช้งานวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ


ในการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กร (โดยมากจะเป็นราย 1 ปี ราย 3 ปี หรือ ราย 5 ปี)  ขึ้นกับว่าเป้าหมายทางธุรกิจนั้นจะสั้นหรือยาว ถ้าระยะปานกลางหรือยาวอาจถูกเรียกว่า "วัตถุประสงค์ที่ตอบเป้าหมายเชิงกลยุทธ์" หากเป็นระยะสั้นจะถูกเรียกว่าเป็น "วัตถุประสงค์ที่เน้นการปฏิบัติการ"   


องค์ประกอบและตัวอย่างของวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ


วัตถุประสงค์ข้อมูลสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงปฏิบัติการและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ โดยทั้งสองประเภทควรมี 4 ด้าน (เป็นอย่างน้อย) อันได้แก่ 1. ด้านการเงิน 2. ด้านลูกค้า 3. ด้านกระบวนการ และ 4. ด้านการเรียนรู้และการเติบโต ดัวตัวอย่างดังนี้


แหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ


ไม่ว่าจะเป็นการระบุวัตถุประสงค์ระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว สิ่งที่เอามาประกอบการพัฒนาวัตถุประสงค์คือ ข้อมูลที่นำมาพิเคราะห์เพื่อระบุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย 10 ข้อมูลสำคัญ อันได้แก่


แนวทางการสังเคราะห์วัตถุประสงค์ทางธุรกิจจากแหล่งข้อมูล

กิจกรรม: จากกรณีศึกษาและการพัฒนาโมเดลทางธุรกิจ หากคุณได้เข้ามารับผิดชอบโรงงานแห่งนี้คุณคิดว่าวัตถุประาสงค์ทางธุรกิจควรเป็นอย่างไรในปี 2567 คุณสามารถตอบในเอกสารนี้ (ดาวน์โหลด)

การพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดและการตรวจสอบความถูกต้อง

ตัวอย่าง: ตัวอย่างวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและวัตถุประสงค์ทางการตลาด

กิจกรรม: 

วัตถุประสงค์ทางการตลาดคืออะไร

วัตถุประสงค์ทางการตลาด คือ เป้าหมายที่องค์กรกำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นทิศทางการดำเนินการทางการตลาดที่จะตอบวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ดังนั้นวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นเป้าหมายในระดับการดำเนินการ (ภายใต้เป้าหมายธุรกิจ) ขององค์กรที่ต้องสามารถวัดได้ตามช่วงเวลาในการดำเนินการที่ตอบเป้าหมายทางการตลาดและทางธุรกิจ   


ตัวอย่างวัตถุประสงค์ทางการตลาด



แหล่งที่มาของข้อมูลทางการตลาด

การพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดนั้นจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลจาก 5 แหล่ง อันได้แก่ 

(1) วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ  เป็นกลุ่มข้อมูลสำคัญเนื่องจากเป็นเป้าหมายที่การตลาดจำเป็นต้องขับเคลื่อนเพื่อให้วัตถุประสงค์ทางธุรกิจบรรลุเป้าหมาย


(2) ข้อมูลการดำเนินการในอดีตของหน่วยงาน เป็นกลุ่มข้อมูลที่สะท้อนประสิทธิภาพการดำเนินการว่าการดำเนินการทางการตลาดในอดีตมีอะไรที่ต้องปรับปรุงหรือไม่ เช่น ข้อมูลขาย ข้อมูลผลประเมินประสิทธิภาพตราสินค้า ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า (การขาย การตัดสินใจ การรับสื่อ ช่องทางรับสื่อ ปัจจัยการปิดการขาย ช่วงเวลาการซื้อ จำนวนซื้อ ประเภทสินค้าที่ซื้อ สถานที่หรือช่องทางการซื้อและรับสื่อ) เทรนสินค้า รายงานการสั่งซื้อลูกค้าประเภทธุรกิจ เงื่อนไขการตลาดที่ต้องการ


(3) ข้อมูลวิจัยทางการตลาด เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า โดยมากประกอบด้วยลักษณะของลูกค้า พฤติสกรรมลูกค้า การตัดสินใจของลูกค้า และปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดต่อลูกค้า


(4) ​ข้อมูลทรัพยากรด้านการตลาดขององค์กร เป็นข้อมูลทรัพยากรทางการตลาดขององค์กรที่องค์กรมีอยู่ ณ ปัจจุบัน เช่น ตราสินค้า (และสิทธิทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง) ช่องทางการประชาสัมพันธ์ของตนเอง เครือข่ายทีมขายและเครือข่ายสื่อหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด หนักงานทางการตลาด (เช่น นักวางแผน นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้พัฒนาช่องทาง ผู้สร้างเนื้อหา) งบประมาณและระบบสารสนเทศการจัดการทางการตลาด บูท สินค้าตัวโชว์ สินค้าตัวอย่าง และข้อมูลรีวิวของลูกค้า


(5) ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการตลาด เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการตอบสนองในการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการตลาดเหล่านี้ สภาพแวดล้อมทางการตลาดประกอบด้วย


กรอบการพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาด


กรอบการพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดมีหลายเครื่องมือในการใช้งาน เช่น BASSC Model GOAT Framework 3C Model (Customer-Corporation-Competitor) HARD Model RACE Framework และ ANSOFF metrix อย่างไรก็ดีสามารถพิจารณาได้จากปัจจัย 6 ด้านดังนี้


การตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่จะสนับสนุนธุรกิจและสร้างการเติบโต


หากเท่านได้มีการตั้งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเรียบร้อยจากกระบวข้อมูลการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดจากหัวข้อก่อนหน้า ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เข้ามาตรวจสอบว่าเป้าหมายทางการตลาดนั้นเหมาะสมหรือไม่โดยพิจารณา 7 ด้าน ดังนี้ 

เรื่องที่น่าสนใจอื่น

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ

[กดที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อน]

Copyright (c) 2023, Edunet Company Limited